แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร


หน้าแรก
................................................
ประวัติจังหวัดพังงา
................................................
ภูมิปัญญาด้านอาหาร
................................................
ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม
.................................................
แหล่งท่องเที่ยว
.................................................
ติดต่อเรา
................................................

คุณชื่นชอบสิ่งใดมากที่สุดในจ.พังงา

ขนมเต้าส้อ
เขาตะปู
หาดสิมิลัน
เกาะปันหยี
แกงไตปลาสำเร็จรูป





tacoma assisted living
www.free-counter-plus.com
จำนวนผู้เยี่ยมชม

 

 

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

ย้อนอดีตไปเมื่อหลายสิบปีก่อน กรมป่าไม้ได้ประกาศให้พื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ ท้องที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2514 ต่อมาคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้มีมติเห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แต่เนื่องจากพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์อยู่ในเขตสัมปทานปิโตรเลี่ยมของบริษัท WEEKS PETROLEUM มติดังกล่าวจึงต้องระงับไป และบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ยังเคยถูกเสนอให้ใช้เป็นค่ายญวนอพยพ แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรอันล้ำค่าทั้งบนบกและในท้องทะเล ประกอบกับทิวทัศน์ธรรมชาติทางทะเลอันงดงาม เหมาะสมที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมชาติวิทยา กรมป่าไม้จึงได้คัดค้านและได้ดำเนินการสำรวจและประกาศจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศ

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันโดยมีระยะห่างจากฝั่งบริเวณท่าเรือคุระบุรี ประมาณ 60 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 135 ตารางกิโลเมตร หรือ 84,357 ไร่ ในจำนวนนี้คิดเป็นพื้นที่น้ำประมาณ 102 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 76 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ประกอบด้วยเกาะต่างๆ รวม 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี (เกาะสต๊อร์ค) เกาะกลาง (ปาจุมบา) และเกาะไข่ (เกาะตอรินลา) โดยมีเกาะสุรินทร์เหนือและเกาะสุรินทร์ใต้ เป็นเกาะขนาดใหญ่วางตัวตามแนวทิศเหนือใต้ ด้านทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติเป็นเขตแดนติดต่อกับประเทศพม่า ส่วนทางด้านทิศใต้ในระยะที่ไม่ห่างไกลกันนักเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
 
 

ลักษณะภูมิประเทศ

หมู่เกาะสุรินทร์มีสภาพที่กำบังคลื่นลมทั้งสองฤดู เนื่องจากเกาะวางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร นอกเหนือจากการรับอิทธิพลจากคลื่นลม สภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์ของบริเวณหมู่เกาะเหล่านี้อเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ น้ำใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสานของน้ำที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ำเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน ซึ่งเป็นอาหารสำหรับปลาและสัตว์อื่นๆ ปัจจัยทางสมุทรศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ลักษณะของน้ำขึ้นน้ำลงในทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นแบบ Semidiurnal คือ น้ำขึ้นและน้ำลงอย่างละ 2 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง และความแตกต่างระหว่างน้ำขึ้นสูงสุดและต่ำสุดอาจถึง 3 เมตร ทำให้มีกระแสน้ำเลียบฝั่งค่อนข้างแรง
เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ำตื้นๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่ ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปยังอีกเกาะได้ เรียกว่า อ่าวช่องขาด ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะเป็นเกาะหินที่มีต้นไม้แคระแกร็นขึ้นอยู่ไม่หนาแน่นนัก พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกำเนิดของแนวปะการังน้ำตื้นขนาดใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ลักษณะภูมิอากาศ

สามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกันยายน ปริมาณฝนเฉลี่ยในแต่ละปีจะมีค่ามากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 83 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้
ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 14 พฤศจิกายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี
 

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า

ป่าดงดิบ เป็นป่าที่มีพื้นที่มากที่สุด มีอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยพรรณไม้หลายชนิด เช่น คอแลน มะยง เท้าแสนปม กระเบากลัก ลำป้าง มะพลับ ลักเคยลักเกลือ ดำตะโก พลับเขา เลือดแรด หันช้าง สลอดป่า หงอกค่าง พระเจ้าห้าพระองค์ ยางยูง ยางปาย สะเดาปัก ตะพง มะเม่าดง มะส้าน อ้ายบ่าว มะกล่ำต้น แตงชั่ง มะเม่าสาย นกนอน ลิ้นควาย กระบาก ไทร กร่าง ไม้หอม แกงเลียงใหญ่ มะเม่าดง ตะขบควาย นวล มูกเขา และลังค้าว นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้ชนิดอื่นๆ อีก คือ
- ปาล์ม ได้แก่ เต่าร้างแดง ช้างไห้ หวาย
- ไม้พุ่ม ได้แก่ แม่กลอน เต้ยชะครู จันทร์คันนา คัดเค้าทอง
- ไม้เถาเลื้อย ได้แก่ เถาปลอง แสลงพันเถา ลิ้นกวาง ขมัน เถานางรอง กร่าง
- ไม้พื้นล่าง ได้แก่ เข็มพระรามไม้ ผักยอดตอง คล้า ว่านสากเหล็ก กูดง้อง เตยหนู กูดปรง และร๊อก เป็นต้น

ป่าชายหาด ประกอบด้วย โพกริ่ง กระทิง ตีนเป็ดทะเล สนทะเล จิกเล ปอทะเล โกงกางหูช้าง คันทรง ขาเปี๋ย สำมะงา รักทะเล ปรงทะเล ลำเจียก หญ้าไหวทาม เป็นต้น

ป่าชายเลน ประกอบด้วย โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โกงกางหัวสุม ตะบูน ลำแพนหิน ตีนเป็ดทะเล และพืชอิงอาศัยพวกกระแตไต่ไม้และกล้วยไม้บางชนิด

จากสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์นี้จึงเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะนกซึ่งพบมากกว่า 80 ชนิด ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เช่น นกขุนทอง นกลุมพูขาว นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกชาปีไหนซึ่งเป็นนกที่หายาก และหากเดินไปตามชายทะเลจะพบนกยางทะเล นกนางนวล เหยี่ยวแดง บินเหนือท้องทะเลเพื่อล่าปลาเป็นอาหาร ภายในป่าจะพบลิงกังอยู่เป็นฝูงใหญ่ เกาะรอก กระจง ตะกวด งูหลาม ค้างคาวแม่ไก่ และค้างคาวหนูผี

สิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง
แนวปะการังที่พบทั่วไปที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นแนวปะการังริมฝั่ง หรือที่เรียกกันว่า fringing reef ปะการังที่พบได้มากได้แก่ ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังเขากวาง ปะการังโขดหรือปะการังนิ้วมือ ปะการังดอกเห็ด ปะการังกาแล็กซี่ ปะการังแผ่นเปลวไฟหรือปะการังดอกจอก ปะการังสมอง ปะการังจาน ปะการังไฟ ดอกไม้ทะเล ปะการังอ่อน กัลปังหา และปากกาทะเล เป็นต้น

นอกจากปะการังแข็งที่พบเห็นโดยทั่วไปแล้ว ยังพบหญ้าทะเลในบริเวณอ่าวของหมู่เกาะสุรินทร์ 3 ชนิด ได้แก่ หญ้าเงาหรืออำพัน หญ้ากุ่ยช่ายเข็ม และหญ้าชะเงาเต่า นอกจากนี้ยังมี ฟองน้ำ หนอนทะเล กุ้งมังกร กุ้ง ปู หอย หมึก ดาวทะเล ดาวเปราะ ดาวขนนก เม่นทะเล ปลิงทะเลเพรียงหัวหอมและกลุ่มปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาสลิดหิน ปลานกขุนทอง ปลาผีเสื้อ ปลาสินสมุทร ปลานกแก้ว ปลากะรังและปลาทอง ปลาขี้ตังเป็ด ปลาสลิดทะเล ปลาผีเสื้อเทวรูป ปลาอมไข่ ปลาตั๊กแตนหิน ปลาบู่ ปลาสิงโต ปลากะรังหัวโขน ปลาหิน ปลากะพง ปลากล้วย ปลาสร้อยนกเขา ปลาทรายขาว ปลาหางแข็ง ปลาโมง ปลาสีกุน ปลาวัว ปลาปักเป้า นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของสัตว์ทะเลหายาก เช่น ฉลามวาฬ วาฬ และเต่าทะเลซึ่งพบ 4 ชนิดด้วยกันได้แก่ เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ และเต่าหญ้า

 

 

 

copyrigth@2010 poompanya-phangnga.com
ติดต่อโฆษณา:ภูมิปัญญาพังงาดอทคอม

 

 


 

Free Web Hosting